
น้ำเสีย เกิดขึ้นได้อย่างไร !!
สิ่งสกปรกจาก อุตสาหกรรม เครื่องอุปโภค บริโภค น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท และ สิ่งปฏิกูลต่างๆที่มาจาก อาคารบ้านเรือน จะมีสารอินทรีย์ที่เป็นสารประกอบด้วย ธาตุคาร์บอนไดรไฮโดรเจน ,ออกซิเจน ,ไนโตรเจน กำมะถัน
เป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิด “มลพิษทางน้ำ”
ทำไม ต้องบำบัดน้ำเสีย !!
ในกระบวนการผลิต สิ่งของ เครื่องใช้ ในโรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีการใช้สารเคมีต่างๆ หลายชนิด โดยเฉพาะ สารเคมี ประเภทโลหะหนัก เช่น ทองแดง สังกะสี แคดเมียม
ปรอท ตะกั่ว สารเหล่านี้ จะตกค้างอยู่ในแหล่งน้ำ ไม่ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์
และเมื่อเวลาผ่านไป โลหะเหล่านี้ อาจจะไปอยู่ใน เนื้อเยื่อของพืชน้ำ สัตว์น้ำ และ มาสู่คน
หรือ สัตว์ ที่บริโภคน้ำนั้นเป็นอาหารในโซ่ และ สายใยอาหาร ปริมาณโลหะหนักเหล่านี้
ถ้ามีปริมาณมากเกินไป จะเกิดผลในการทำลายเนื้อเยื่อของระบบประสาทระบบกระดูก
มาทำความรู้จักค่า BOD ในน้ำเสีย กันเถอะ !!

ค่า BOD = สารอินทรีย์ + O2 + แบคทีเรีย
ค่า BOD คือ ปริมาณแก๊ส O2 ที่ต้องใช้ ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ
โดยใช้จุลินทรีย์ เป็นตัวย่อยสลาย
ค่า BOD มี 5 -7 mg/l = น้ำดี
ค่า BOD มี สูงกว่า 100 mg/l = น้ำเสีย

กระบวนการ ของ แอเรชั่น ( Aeration ) คือ
คือ การทำให้มีการสัมผัสระหว่างเฟสแก๊ส กับ เฟส ของเหลว มากที่สุด เช่น การสร้างความปั่นป่วนให้กับเฟสของเหลว การเป่าฟองอากาศไปในน้ำ การพ่นละอองน้ำขนาดเล็กขึ้นไปในอากาศ
ขนาดละอองน้ำ หรือ ฟองอากาศ สำคัญแค่ไหน !!
เนื่องจาก “ละอองน้ำ” หรือ “ฟองอากาศ” ที่มีขนาดเล็กจะมีพื้นที่ผิวสัมผัสน้ำ มากกว่าละอองน้ำ หรือ ฟองอากาศ ที่มีขนาดใหญ่ เมื่อปริมาตรอากาศ หรือน้ำเท่ากัน ดังนั้น
การถ่ายเทมวลสาร ของโมเลกุลแก๊ส จะเกิดขึ้นได้ดี ในระบบที่ประกอบไปด้วยละอองน้ำ
หรือ ฟองอากาศที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากมี พื้นที่ ผิวสัมผัสจำเพาะระหว่างเฟสสูงขึ้น
ซึ่งส่งผลดี ต่ออัตราเร็วในการถ่ายเทมวลสารอีกทางหนึ่ง
ระยะเวลา การสัมผัส อากาศกับน้ำ
เวลาสัมผัส ระหว่าง อากาศ กับ น้ำ จึงต้องเพียงพอ สำหรับการถ่ายเท มวลสารของโมเลกุลแก๊ส ให้มีเวลาเคลื่อนย้าย จากสถานนะหนึ่ง ไปยังอีกสถานะหนึ่ง คือ ละอองน้ำ
(หยดน้ำ) หรือ ฟองอากาศ ต้องอยู่ในอากาศนานพอเพียง จนกระทั่งทำให้เกิด การถ่ายเทฟลิ์มของเหลว ด้วยกลไกการแพร่ เข้าไปสู่อีกเฟสภายในระบบ |